Category Archives: บทความเกี่ยวทันตกรรม

จัดฟันใช้เวลานานแค่ไหน

จัดฟันใช้เวลานานแค่ไหน

เมื่อเราตัดสินใจแล้วว่าจะจัดฟัน เชื่อว่าแทบทุกคนต้องมีคำถามในใจว่าจะต้องใส่เครื่องมือเป็นเวลานานแค่ไหน แต่คำตอบนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับช่องปาก สภาพฟัน และอุปกรณ์ที่เลือกใช้ของแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกันไป อันเนื่องมาจากปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้ใช้เวลาในการจัดฟันแตกต่างกัน   ปัจจัยที่ทำให้ระยะเวลาจัดฟันแตกต่างกัน อายุ คนไข้เด็กจะใช้เวลาในการจัดฟันน้อยกว่าวัยผู้ใหญ่ แต่คนไข้เด็กบางรายก็อาจจะใช้เวลานานกว่าวัยผู้ใหญ่ได้เช่นกัน เพราะมีความผิดปกติในการจัดเรียงตัวของฟันค่อนข้างมาก ตัวอย่างเช่นฟันขึ้นผิดตำแหน่งจนต้องถอนฟันแล้วรอฟันแท้ขึ้นมาก่อน ลักษณะความผิดปกติของฟัน มีตั้งแต่การเรียงตัวของฟันที่ไม่ปกติเพียงเล็กน้อย จนถึงความผิดปกติของขากรรไกรที่ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ จึงอาจทำให้ต้องใช้เวลาจัดฟันนานขึ้น เครื่องมือจัดฟัน การจัดฟันในปัจจุบันมีให้เลือกหลายแบบ ทั้งเครื่องมือจัดฟันแบบโลหะ แบบเซรามิก แบบ Damon แบบ Invisalign และแบบจัดฟันด้านใน ซึ่งแน่นอนว่าเครื่องมือที่มีความทันสมัยย่อมใช้เวลาน้อยกว่านั่นเอง   ขั้นตอนและระยะเวลาจัดฟัน เมื่อทันตแพทย์ตรวจสุขภาพช่องปากอย่างละเอียด ทำการเอกซเรย์ ทำแบบจำลองฟัน ถ่ายภาพ และนำข้อมูลทั้งหมดมาพิจารณาเพื่อประเมินว่าคนไข้ควรได้รับการรักษาแบบใดและต้องเคลียร์ช่องปากอย่างไรบ้างแล้ว ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการเลือกเครื่องมือจัดฟัน ซึ่งโดยเฉลี่ยจะใช้เวลาประมาณ 16 – 18 เดือน บางรายอาจต้องใช้เวลานานถึง 1 ปี หรือบางรายก็ใช้เวลาแค่เพียง 6 เดือน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น   เหตุใดวัยผู้ใหญ่ใช้เวลาจัดฟันนานกว่าวัยเด็ก เนื่องจากฟันของผู้ใหญ่นั้นหยุดการเจริญเติบโตและยึดติดแน่นกับตำแหน่งนั้นแล้ว ดังนั้นการจัดฟันจึงจำเป็นต้องอาศัยแรงดึงที่มากกว่าวัยเด็ก […]

การดูแลสุขภาพฟันผู้สูงอายุ

การดูแลสุขภาพฟันผู้สูงอายุ การดูแลสุขภาพฟันจำเป็นสำหรับคนทุกวัย ยิ่งผู้สูงอายุด้วยแล้วยิ่งต้องมีการดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากฟันของท่านผ่านการใช้งานมานาน ผ่านปัญหาทั้งที่แก้ไขได้และแก้ไขไม่ได้ ทำให้บางท่านสูญเสียฟันแท้ไปแล้ว ต้องใส่ฟันปลอม บางท่านอาจมีการปล่อยให้มีช่องว่างของฟัน เพราะมีปัญหาเรื่องการใส่ฟันปลอม ซึ่งปัญหาทั้งหลายมีผลต่อการดูแลสุขภาพฟันในปัจจุบันทั้งสิ้น ปัญหาสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง ปัญหาสุขภาพฟันผู้สูงอายุนั้น พบไม่ต่างจากคนทุกวัย เช่น ฟันผุ ฟันผุในผู้สูงวัยเกิดขึ้นได้ง่าย เนื่องจากผู้สูงวัยอาจดูแลเรื่องการรักษาความสะอาดของฟันได้ไม่ดีเหมือนเดิม รวมถึงฟันที่ผ่านการสะสมปัญหาตามวันเวลาด้วย เหงือกอักเสบ ปริทันต์อักเสบอันเนื่องจากคราบจุลินทรีย์ที่สะสมบริเวณฟันและขอบเหงือก ปัญหารากฟันอักเสบ อาการเสียวฟัน อาการปากแห้ง สูญเสียฟันแท้ไป เรียกว่า เมื่อเวลาผ่านไป สุขภาพก็เสื่อมตามกาลเวลา ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพกาย หรือสุขภาพในช่องปาก ปัญหาการสูญเสียฟันแท้ การต้องถอนฟันแท้ทิ้งไป ดูเหมือนจะเป็นปัญหาสุขภาพฟันของผู้สูงวัยทั้งหมด บางคนถอนหลายซี่ บางคนอาจถึงจุดที่เสียฟันแท้ทั้งปาก ส่วนสาเหตุนั้น ส่วนใหญ่มาจากสาเหตุดังนี้ มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพฟัน และปัญหาในช่องปากมาตั้งแต่ก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ บางคนเป็นตั้งแต่เด็กจากปัญหารับประทานยาบางประเภท ทำให้ฟันไม่แข็งแรง ปัญหาอื่นๆ หลายอย่างที่มีผลต่อเนื่องต่อสุขภาพฟัน ทำให้ฟันผุง่าย บางทีลุกลามถึงโพรงประสาทฟัน ทำรากฟันเทียม ต้องครอบฟัน และก็มีที่ต้องเสียฟันซี่นั้นๆ ไปเลย บางครั้งการสูญเสียฟันแท้มีจุดเริ่มต้นมาจากการเป็นเหงือกอักเสบที่มีที่มาจากเชื้อจุลินทรีย์ที่เกาะฟัน ผลิตสารพิษทำให้เป็นโรคเหงือกอักเสบ ปริทันต์อักเสบ และลุกลามจนถึงทำลายเนื้อเยื่อ ฯลฯ และสุดท้ายสูญเสียฟัน การสูญเสียฟันจากโรคประจำตัวของผู้สูงอายุเอง […]

ทำฟันเด็ก

การดูแลสุขภาพฟันเด็ก ทำฟันเด็ก ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ทันตแพทย์คนไหนๆ ก็จะทำได้แบบราบรื่น เพราะนอกจากจะต้องมีความรู้ความสามารถด้านทันตกรรมแล้ว ยังต้องมีความสามารถในการทำให้เด็กยอมที่จะทำฟันได้อีกด้วย จึงไม่แปลกที่การดูแลสุขภาพฟันเด็ก จะเป็นความรู้เฉพาะทาง   ทำฟันเด็กทำไมต้องเป็นทันตแพทย์เฉพาะทาง ประสบการณ์ตรวจฟันหรือทำฟัน เป็นประสบการณ์ครั้งแรกของเด็กซึ่งมักจะมีความกลัว ทำให้ยากต่อการตรวจ ดูแล ทันตแพทย์จึงต้องมีจิตวิทยาในการทำให้เด็กไม่กลัว ไม่ต่อต้านขัดขืน และสร้างประสบการณ์ในด้านดีเกี่ยวกับการตรวจฟัน ดูแลฟันให้กับเด็ก ดังนั้น ทันตแพทย์ที่จะรับหน้าที่นี้จึงต้องมีการศึกษา เรียนรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาดูแลรักษาเด็ก นอกเหนือจากความรู้ด้านทันตกรรม ฟันของเด็กต้องเริ่มต้นดูแลตั้งแต่ยังเป็นฟันน้ำนมซี่แรก ทันตแพทย์ด้านนี้จึงต้องมีความรู้เฉพาะทางเรื่องขากรรไกรเด็กด้วย ฟันน้ำนมที่ได้รับการดูแลดี ถูกต้อง จะส่งผลให้เด็กคนนั้นเติบโตไปอย่างคนที่มีฟันแท้สวยตามไปด้วย   เด็กควรเริ่มดูแลสุขภาพฟันตั้งแต่เมื่อไร แม้ว่าเด็กๆ จะมีฟันน้ำนมที่จะหลุดไปตามเวลาก็จริง แต่การดูแลฟันน้ำนมก็มีความสำคัญ เพราะเป็นเบื้องต้นนำไปสู่สุขภาพฟันแท้ที่สมบูรณ์ แข็งแรง สวยงาม ดังนั้น พ่อแม่จึงควรใส่ใจดูแลเรื่องความสะอาดในภายช่องปากตั้งแต่ฟันยังไม่ขึ้น ส่วนเมื่อฟันน้ำนมขึ้นแล้ว ควรเริ่มต้นปรึกษาทันตแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลรักษา แปรงฟัน และป้องกันฟันผุ รวมถึงปัญหาอื่นๆ เกี่ยวกับฟันของลูกน้อย ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ฟันซี่แรกเมื่ออายุ 6-8 เดือนเลยทีเดียว   ทันตแพทย์ดูแลสุขภาพฟันเด็กดูแลเรื่องอะไรบ้าง ตรวจดูสภาพทั่วไปภายในปาก เหงือก ลิ้น ฯ การขึ้นของฟันน้ำนมว่าขึ้นในลักษณะปกติหรือไม่ ประเมินคุณภาพของฟันเด็กว่ามีโอกาสเสี่ยงที่จะผุได้มากน้อยแค่ไหน เพื่อป้องกันต่อไป […]

คนท้องทำฟันได้หรือไม่

          กำลังตั้งครรภ์ สามารถทำฟันได้หรือไม่?  เป็นคำถามที่ว่าที่คุณแม่ทุกคนอยากจะทราบ แน่นอนว่า การทำฟันนั้น สามารถทำได้ในขณะตั้งครรภ์ แต่จะมีช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดก็คือ ช่วงการตั้งครรภ์ในไตมาสที่ 2 หรือช่วงอายุครรภ์ราว ๆ 14-20 สัปดาห์ ทั้งนี้ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ ควรจะต้องทราบว่า หากเกิดความผิดปกติขึ้นกับฟัน หรือในช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นอาการติดเชื้อ หรือแค่อาการบวม ก็ต้องรีบปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อให้การดูแลรักษาทันที เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจจะก่อให้เกิดผลเสีย ต่อสุขภาพโดยรวม รวมทั้งส่งผลกระบทต่อทารกในครรภ์ได้             ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า การตั้งครรภ์ไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้เราต้องหยุดการทำฟัน แต่ในทางกลับกับระหว่างการตั้งครรภ์นั้น เรานอกจากเราจะหมั่นตรวจเช็คร่างกายแล้ว เราต้องตรวจเช็คฟันด้วย เพราะการตั้งครรภ์นั้น ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการมีฟันผุ เหงือกอักเสบ และโรคในช่องปากอื่น ๆ ได้ แต่ทั้งนี้ ก็ยังมีคนอีกเป็นจำนวนมาก ที่มีความเชื่อว่า การทำฟันในระหว่างตั้งครรภ์นั้น ส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์เคยมีงานวิจัยจากสมาคมทันตแพทย์ออสเตเลีย ระบุว่า ผู้หญิงออสเตเลียกว่าครึ่ง คิดเป็นร้อยละ 53.7 มีความเชื่อที่ไม่ถูกต้องที่ว่า […]

การดูแลปฏิบัติตนหลังจากการฟอกสีฟัน ต้องทำอย่างไรบ้าง?

การดูแลปฏิบัติตนหลังจากการฟอกสีฟัน

การฟอกสีฟันเพื่อให้ฟันขาว ไม่ใช่การทำให้ฟันขาวถาวรก็จริง แต่เราสามารถยืดอายุของฟันขาวให้ได้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ ด้วยการปฏิบัติตนหลังจากฟอกสีฟันให้ถูกต้อง สิ่งที่ต้องปฏิบัติหลังผ่านการฟอกสีฟัน        ในระหว่างฟอกสีฟันหรือฟอกสีฟันเสร็จใหม่ๆ ก็คือ อาการเสียวฟัน และการรอเคลือบฟันปรับสภาพ ดังนั้น สิ่งที่ต้องปฏิบัติจึงเป็นเรื่องดังนี้ อาหารบางชนิดที่มีผลทำให้ฟันเปลี่ยนสี โดยเฉพาะในช่วง 1-3 วันหลังจากฟอกสีฟัน พึงระวังเรื่องนี้อย่างมาก เพราะในช่วงเวลาดังกล่าว เคลือบฟันของคุณเพิ่งผ่านการฟอกสีโดยน้ำยามาหมาดๆ ยังไม่ได้ปรับสภาพไปเหมือนเดิม หากในช่วงนี้ต้องสัมผัสกับอาหารที่ทำให้สีฟันเปลี่ยน จะยังคงอ่อนไหวและติดสีง่ายกว่าปกติ งดอาหารที่จะไปเพิ่มอาการเสียวฟันให้มีมากขึ้น นั่นคือ ควรงดอาหารและเครื่องดื่มที่เย็นจัดหรือร้อนจัด งดผลไม้ที่มีฤทธิ์เป็นกรด สังเกตผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวเป็นหลัก เช่น มะนาว มะนาว สัปปะรด เลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ประเภทนม ชีส เนย ควรงดก่อน สังเกตอาการผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น หากพบว่ามีอาการปวดหรือเสียวฟันต่อเนื่อง โดยที่ไม่มีอะไรไปกระตุ้น อาจต้องกลับไปพบทันตแพทย์อีกครั้ง การปฏิบัติตนหลังจากฟอกสีฟันในระยะยาวต่อเนื่อง        ถ้าไม่อยากต้องกลับไปฟอกสีฟันอีกครั้งในระยะเวลาสั้นเกินไป คือก่อน 6 เดือน ควรปฏิบัติเรื่องต่อไปนี้ให้ได้ งดสูบบุหรี่ เพราะหากไม่งดจะทำให้ฟันที่ฟอกมากลับมาเหลือง เปลี่ยนสีเร็วกว่าเวลาที่กำหนด หลีกเลี่ยงอาหารในกลุ่มต่อไปนี้ เครื่องดื่มที่ทำให้สีติดฟันได้ถ้าดื่มต่อเนื่อง คือ ชา กาแฟ […]

คำแนะนำหลังเคลือบฟลูออไรด์

เคลือบฟลูออไรด์

การเคลือบฟลูออไรด์ที่คลินิก จะเป็นวิธีที่ใช้สำหรับเด็ก เนื่องจากฟันยังมีการเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ในเด็กที่มีประวัติฟันผุหรือมีความเสี่ยงสูงว่าจะเป็นฟันผุ ควรได้รับฟลูออไรด์เสริม ซึ่งฟลูออไรด์เสริมนี้จะช่วยเร่งการคืนแร่ธาตุให้กับฟัน เด็ก ๆ จำนวนมากได้รับฟลูออไรด์เสริมจากการไปพบทันตแพทย์ทุก ๆ 6 เดือน การรักษาดังกล่าวช่วยปกป้องฟันของเด็ก ๆ ไม่ให้เกิดฟันผุได้ การเคลือบฟลูออไรด์นั้น จะช่วยป้องกันฟันผุได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ผู้ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีฟันผุก็สามารถเข้ารับการเคลือบฟลูออไรด์ได้ โดยทันตแพทย์จะเคลือบฟลูออไรด์ลงไปที่ฟันของคุณโดยตรง ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของฟันผุ คือ – มีประวัติฟันผุ – ไม่ค่อยไปพบทันตแพทย์ – ไม่ค่อยแปรงฟัน – รับประทานอาหารไม่ถูกโภชนาการ โดยเฉพาะการรับประทานขนมหวานหรือของว่างบ่อย ๆ คำแนะนำหลังเคลือบฟลูออไรด์ 1.ฟลูออไรด์เจล ควรงดน้ำและอาหารเป็นเวลา 30 นาที 2.ฟลูออไรด์วานิช – งดน้ำและอาหาร 1 ชั่วโมงหลังการเคลือบฟลูออไรด์วานิช – งดรับประทานอาหารแข็งหรืออาหารที่ต้องเคี้ยวเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ชั่วโมง แต่สามารถรับประทานอาหารอ่อนและน้ำได้ – งดการแปรงฟันและงดใช้ไหมขัดฟันในวันที่ทาฟลูออไรด์วานิช ทั้งก่อนนอนและระหว่างวัน เพื่อให้ฟลูออไรด์วานิชได้ทำงานอย่างเต็มที่ โดยสามารถแปรงฟันได้ปกติในวันถัดไป – อาจพบว่ามีคราบสีเหลืองติดที่ฟัน ไม่ต้องแปรงออก […]

หลังทำสะพานฟันควรปฏิบัติดังนี้

หลังทำสะพานฟันควรปฏิบัติดังนี้   การที่สะพานฟันจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานได้นั้น ฟันที่ใช้เป็นฐานรองรับสะพานฟันจะต้องมีสุขภาพแข็งแรง โดยมีข้อควรปฏิบัติเพื่อให้สะพานฟันใช้งานได้ยาวนานดังนี้   ให้หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารแข็งภายใน 24 ชั่วโมง การเสียวฟันอาจเกิดขึ้นได้บางกรณี แต่อาการดังกล่าวสามารถหายเองได้ในเวลาไม่นาน ถ้าหากมีอาการเสียวฟันควรหลีกเลี่ยงการดื่ม หรือรับประทานอาหารที่ร้อน หรือเย็นหรือที่มีกรดสูง อาจรับประทานยาแก้ปวดช่วยจะทำให้อาการเสียวฟันบรรเทาลง และในกรณีที่อาการเสียวฟันยังคงอยู่ควรที่จะไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยอีกครั้ง แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ใช้ไหมขัดฟัน ให้ทำความสะอาดตามซอกฟันและซอกของสะพานฟัน โดยใช้ร่วมกับ ที่ร้อยไหมขัดฟัน (floss threader) หรือใช้ superfloss ช่วยในการทำความสะอาดซอกฟัน ใช้น้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ทุกวันเพื่อลดปัญหาการเสียวฟัน และป้องกันฟันผุในระยะแรก ควรเลือกใช้ยาสีฟัน และน้ำยาบ้วนปากที่มีสารฟลูออไรด์สูงซึ่งสามารถช่วยลดปัญหาการเสียวฟันได้ ควรเริ่มต้นด้วยการรับประทานอาหารอ่อน ๆ ก่อน จนกว่าจะเคยชินกับสะพานฟัน พบทันตแพทย์เพื่อตรวจฟัน และสะพานฟัน ทุก 6 เดือน   สะพานฟันนับเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้ เราได้กลับมายิ้มสวยอีกครั้ง การดูแลสะพานฟันเป็นเรื่องสำคัญจะทำให้อายุของสะพานฟันนานขึ้น นอกจากนี้การดูแลสุขภาพในช่องปากอย่างทั่วถึงเป็นสิ่งสำคัญของสุขภาพฟันดี และอย่าลืมไปพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน เพื่อสุขภาพฟันแข็งแรงตลอดไป    

ลักษณะของอาหารที่ควรทานและควรหลีกเลี่ยงของคนจัดฟัน

ลักษณะของอาหารที่ควรทานและควรหลีกเลี่ยงของคนจัดฟัน การจัดฟัน เป็นการเคลื่อนฟันไปในจุดที่ต้องการที่ละนิด ด้วยการใส่เครื่องมือจัดฟันลงไปในช่องปาก ทำให้มีข้อจำกัดในการรับประทานอาหากมากกว่าคนธรรมดาทั่วไป โดยมีอาหารที่ควรและไม่ควรรับประทาน ดังนี้ อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง อาหารที่มีความแข็ง เหนี่ยว อาทิ ถั่ว, มันฝรั่ง, ข้าวโพดคั่ว, ปลาหมึก และอะไรก็ตามที่แข็ง เพราะอาหารที่แข็งเหล่านี้จะทำให้เครื่องมือจัดฟันหลุดหรือว่าหลวมได้ ซึ่งนอกจากจะทำให้เหล็กเสียหายแล้ว บางครั้งเหล็กอาจจะงอขึ้นมาจนกระทั้งระคายเคืองริมฝีปากและกระพุ้งแก้ม อาหารกินเล่นจำพวกหมากฝรั่ง ลูกอม คาราเมล ที่มีความเหนี่ยว เพระเมื่อรับประทานเข้าไปจะติดที่เหล็กอย่างแน่นอน และเอาออกยากมาก ซึ่งเมื่ออาหารเข้าไปติดตามซอกซอกเหล็กจะอยู่ลึกและเกาะทั่วเหล็กไปหมด เมื่อเราพยายามดึงออกแบบไม่ระวัง อาจจะทำให้เหล็กของเราหลุดออกมาพร้อมอาหาร จึงอาจจะทำให้เกิดความเสียหายได้ น้ำแข็ง เพราะมันจะทำให้เหล็กเสียหาย เฉพาะคนจัดฟันห้ามเคี้ยวน้ำแข็งโดยตรง แต่สามารถอมน้ำแข็งเล่นได้ และดื่มน้ำเย็นได้ตามปกติ เมื่อต้องรับประทานผลไม้ที่มีเนื้อกรอบ หรือแข็งเล็กน้อย ห้ามใช้ฟันกัดที่ผลไม้โดยตรง เพราะจะทำให้เหล็กจัดฟันของเราเสียหาย และยังมีผลทำให้เหงือกด้วย วิธีที่จะทำให้เรารับประทานผลไม้เนื้อกรอบได้คือการหั่นผลไม้เป็นชิ้นเล็กๆ ก่อน แล้วค่อยรับประทาน เพื่อให้เคี้ยวง่ายขึ้นและไม่เป็นอันตรายต่อเหงือกและเครื่องมือจัดฟัน หลีกเลี่ยงอาหารที่ต้องกัด แทะ อาทิเช่น กระดูกหมู ซี่โครงไก่ ปลาหมึกย่าง เพราะจะทำให้เหล็กเกิดความเสียหายได้มาก แนะนำว่าต้องใช้มือแกะเนื้อออกมาก่อน ค่อยรับประทานได้ หรือควรงดการรับประทานอาหารชนิดนั้นไปเลย อาหารที่ควรรับประทาน ผู้ที่จัดฟันควรรับประทานอาหารอ่อนๆ […]

การปฏิบัติตัวหลังผ่าฟันคุด

การปฏิบัติตัวหลังผ่าฟันคุด   พันคุด คือฟันไม่สามารถขึ้นมาได้ตามปกติในแนวเหงือก อาจจะโผล่ขึ้นมาบางส่วน หรือฝังตัวอยู่ในกระดูกขากรรไกรทั้งซี่ ซึ่งพบได้บ่อยบริเวณฟันกรามซี่ในสุด เพราะโดยปกติแล้วฟันซี่นี่มักจะขึ้นตอนอายุ 18-25 ปี และอาจโผล่ได้หลายลักษณะไม่ว่าจะเป็นตั้งตรง นอนในแนวราบ หรือขึ้นแบบเอียงๆ และมักจะอยู่ชิดจนเบียดฟันซี่ข้างเคียง ซึ่งนอกจากนี้ฟันซี่อื่นๆ ก็มีโอกาสคุดได้เช่นกันไม่ว่าจะเป็น ฟันเขี้ยว ฟันกรามน้อย  โดยวิธีรักษาฟันคุด จำเป็นต้องผ่าแล้วถอนออก เพราะฟันคุดจะผุง่ายและทำให้ฟันซี่ข้างเคียงและเหงือกอักเสบ จึงควรถอนออกทันทีเพราะเป็นฟันที่ไม่มีประโยชน์ ก่อแต่โทษในช่องปากของเรา โดยหลังจากผ่าฟันคุดควรปฏิบัติตัวดังนี้   ให้กัดผ้าก๊อซ จนกว่าเลือดจะหยุดไหลนานไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง โดยสามารถกลืนน้ำลายได้ตามปกติ แต่ควรพยายามพูดและขยับปากให้น้อยที่สุด ในวันแรกที่ผ่าฟันคุด ห้ามบ้วนเลือด ห้ามบ้วนน้ำลาย ให้กลืนเลือดและน้ำลายลงไปเพราะจะทำให้เลือดหยุดไหลได้เร็วขึ้น เมื่อเลือดหลุดไหล หรือกัดผ้าก๊อซมาเป็นเวลานานแล้ว ให้คายผ้าก๊อซออก ถ้ายังมีเลือดซึมออกมาอยู่ให้หาผ้าก๊อซที่สะอาดมากัดใหม่อีกประมาณ ½ ชั่วโมง วันแรกที่ผ่าฟันคุดให้ประคบเย็นที่บริเวณแก้ม เพื่อบรรเทาอาการบวม แต่วันที่ 2 เป็นต้นไปให้ประคบร้อนด้วยผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นประคบที่แก้ม การแปรงฟันในวันแรกที่ผ่าตัด ควรงดการแปรงฟันเอาไว้ก่อน โดยสามารถใช้น้ำยาบ้วนปากแทน แล้ววันที่ 2 สามารถแปรงฟันได้ตามปกติ ห้ามใช้นิ้ว ลิ้น สัมผัส […]

แปรงซอกฟันมีประโยชน์อย่างไรสำหรับคนจัดฟัน

แปรงซอกฟันมีประโยชน์อย่างไรสำหรับคนจัดฟัน   เพราะการดูแลช่องปากสำหรับผู้จัดฟันเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่คนจัดฟันส่วนใหญ่ต้องประสบพบเจอ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ความสำคัญในเรื่องของความสะอาดเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อใส่เครื่องมือจัดฟันเข้าไปในปาก ซอกเหล็ก ซอกฟัน มักจะมีคราบพลัคเข้าไปสะสม ซึ่งเมื่อสะสมเป็นระยะเวลานานๆ ทำให้เกิดโรคเหงือก กลิ่นปาก และปัญหาสุขภาพฟันอื่นๆ อีกมากมาย และนอกจากการแปรงฟันด้วยแปรงสีฟันสำหรับเพื่อคนจัดฟันแล้ว อุปกรณ์อีกชนิดที่จำเป็นสำหรับผู้จัดฟันคือ แปรงซอกฟัน             แปรงซอกฟัน คืออะไร แปรงซอกฟัน หรือแปรงระหว่างซอกฟัน เป็นแปรงที่ไว้ใช้สำหรับผู้ที่มีช่องระหว่างฟัน ทำให้มีเหงือกสามเหลี่ยมระหว่างซอกฟันร่น ซึ่งในคนปกติเหงือกระหว่างซอกฟันจะต้องลงมาปิดช่องนี้เต็มที่ ช่องระหว่างฟันจึงไม่เกิดขึ้น ซึ่งสามารถนำมาใช้ในผู้ที่จัดฟันได้ ด้วยการนำมาแปรงระหว่างซอกเหล็กนั้นเอง โดยลักษณะของแปรกซอกฟันจะมี 2 แบบคือ แบบมีด้ามและแบบไม่มีด้ามยาวจับ ตรงส่วนตัวขนแปรงจะมีลักษณะคล้ายแปรงล้างขวดนม แต่ย่อส่วนให้เล็กลง ทำให้เมื่อซอกซอนเข้าไปตามซอกต่างๆ ในช่องปากจึงทำความสะอาดได้เป็นอย่างดี รวมทั้งตามซอกของเหล็กจัดฟันด้วย วิธีใช้แปรงซอกฟันอย่างถูกต้อง เมื่อแปรงฟันเสร็จแล้วตามปกติ ให้สอดแปรงซอกฟันเข้าไปในเหล็กจัดฟัน ถูไปมาเบาๆ ดึงเข้าดึงออก ประมาณ 3-4 ครั้งต่อซี่ และควรหนุนแปรงเป็นรูปวงกลมเบาๆ ตามซอกเหล็กและซอกฟันด้วย ทำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะครบทุกซี่ บ้วนปากให้สะอาดหลังจากแปรงครบทุกซี่               […]

ย้อนกลับด้านบน